เข้าใจดีว่า เวลาที่ลูกน้อยมีอาการไอ เจ็บคอ แม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้พ่อแม่กังวลใจได้ จนต้องรีบหายาน้ำแก้ไอเด็กมาให้ลูกทาน

            แต่รู้ไหมว่า ความจริงแล้วไม่ใช่ยาน้ำแก้ไอเด็กทุกชนิด ที่จะสามารถรักษาอาการไอของลูกคุณได้เพราะอาการไอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และข้อจำกัดของเด็กแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนที่จะป้อนยาให้ลูก พ่อแม่ควรรู้เรื่องราวเหล่านี้เสียก่อน

ควรใช้ยาน้ำแก้ไอเด็กให้เหมาะสมกับสาเหตุของอาการไอ

            แม้ว่าอาการไอที่แสดงออกมาของเด็กแต่ละคนจะเหมือนกัน แต่ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุไว้ว่า อาการไอในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไอเพราะติดเชื้อวัณโรค ไอเพราะเป็นโรคไอกรน ไอจากการสำลักสิ่งแปลกปลอม ไอจากการแพ้ฝุ่น

            หรือที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในเด็กเล็กและเด็กโต คือ ไอจากการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด ที่ทำให้เด็กมีไข้ น้ำมูกไหล และระคายเคืองคอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไอ โดยจากสถิติชี้ว่า เด็กมีโอกาสเป็นไข้หวัดเฉลี่ย 6-8 ครั้ง/ปี และจะเป็นไข้หวัดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนเชื้อที่พบบ่อยในการทำให้เกิดไข้หวัด ได้แก่ Rhinovirus, Coronavirus, Parainfluenza virus, RSV และเชื้อไข้หวัดใหญ่

            ดังนั้น ถ้าพ่อแม่ทราบถึงสาเหตุการไอของลูก และพบว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรง เช่น ไข้หวัดธรรมดา ก็ควรเลือกยาน้ำแก้ไอเด็กที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอจากไข้หวัด แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าลูกไอเพราะสาเหตุใด ควรพาลูกพบเภสัชกร หรือกุมารแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดก่อนที่จะซื้อยา

เลือกใช้ยาน้ำแก้ไอเด็กที่ตรงกับประเภทของอาการไอ

            นอกจากนี้ ประเภทของอาการไอก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ไอแห้ง หรือไอแบบระคายคอ สามารถใช้ยาน้ำแก้ไอเด็ก ที่ช่วยลดอาการไอทั่วไปก็เพียงพอแล้ว
  2. ไอแบบมีเสมหะ ซึ่งเกิดจากเด็กสูดน้ำมูกลงคอ จนทำให้เกิดอาการไอ และมีเสมหะข้นเหนียว ควรเลือกใช้ยาน้ำแก้ไอเด็ก ที่ช่วยลดอาการไอ ลดน้ำมูก และละลายเสมหะควบคู่กันไป ทั้งนี้ ควรเป็นยาน้ำที่ปราศจากแอลกอฮอล์ด้วย เพราะอาจทำให้เด็กระคายคอมากขึ้น เช่น Amicof (อามีคอฟ) ยาน้ำแก้ไอที่มีตัวยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) และไม่มีแอลกอฮอล์ จึงช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัด หรือขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น และไม่ระคายเคืองคอ

อย่าใช้ยาน้ำแก้ไอเด็กติดต่อกันนานเกินไป

            แม้ว่ายาน้ำแก้ไอเด็กจะมีส่วนผสมที่ไม่อันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้าทานติดต่อกันนานเกินจากที่ระบุบนฉลากยา อาจส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด เช่น ทำให้ตับทำงานหนักเกินไปจนตับวาย ทำให้เกิดอาการดื้อยาจนไม่สามารถใช้ตัวยาเดิมรักษาอาการไอได้อีก เป็นต้น

            นอกจากนี้ การใช้ยาตัวเดิมติดต่อกันนานๆ แล้วอาการไอไม่ดีขึ้น ยังสามารถบอกได้ว่า พ่อแม่อาจเลือกยาที่ไม่ถูกกับโรคให้ลูกทาน

ทางที่ดี ถ้าใช้ยาตามที่ระบุบนฉลากแล้วไม่ดีขึ้น ไม่ควรฝืนให้ลูกใช้ต่อ แต่ควรนำไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป เพราะไม่แน่ว่าอาการไอของลูกน้อย อาจเป็นการบอกใบ้ถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างที่มากกว่าไข้หวัดธรรมดา

            ถ้าพ่อแม่ทำตามเรื่องง่ายๆ นี้ได้ รับรองว่าการใช้ยาน้ำแก้ไอเด็กเพื่อรักษาอาการไอของลูกน้อย ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน